Srinakharinwirot University: SWU e-Journals System
Not a member yet
    8966 research outputs found

    สารบัญ

    Get PDF
    สารบั

    ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เวลาพาเพลิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

    Get PDF
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลาพาเพลิน ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลาพาเพลิน ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เวลาพาเพลิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 คน ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพิชัยพัฒนา สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เวลาพาเพลิน (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีความเชื่อเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.73 และ (4) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลาพาเพลิน ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 (2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลาพาเพลิน ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 14.88 และคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 20.75 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 5.88 และมีดัชนีประสิทธิผลเฉลี่ยเท่ากับ 0.388 หรือคิดเป็นร้อยละ 38.80 (3) นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เวลาพาเพลิน ความพึงพอใจอยู่ในระดับมา

    บรรณาธิการแถลง

    Get PDF
    บรรณาธิการแถล

    กองบรรณาธิการ

    Get PDF
    กองบรรณาธิกา

    การศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book: A STUDY ON THE UNDERSTANDING OF SYMBOLS IN DAILY LIFE OF GRADE 3 STUDENTS WITH MODERATE INTELLECTUAL DISABILITIES BY USING DIRECT INSTRUCTION WITH BIG BOOK

    No full text
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย  1)เพื่อศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book  2)เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book ก่อนการทดลองและหลังการทดลองกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลางและไม่มีความพิการซ้อนจำนวน 4 คนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี  มีระดับเชาว์ปัญญา 35-49  สามารถสื่อสารได้ด้วยท่าทาง  หรือการพูดโต้ตอบ ตอบคำถามจากแบบทดสอบได้ถูกต้องน้อยกว่า 5 ข้อ    เป็นนักเรียนที่ไม่เข้าใจ ภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาพสัญลักษณ์ห้องน้ำชาย-หญิง  ภาพสัญลักษณ์ทางหนีไฟ   ภาพสัญลักษณ์จุดรวมพล  ภาพสัญลักษณ์ห้องปฐมพยาบาล ภาพสัญลักษณ์ทางม้าลาย  ภาพสัญลักษณ์สัญญาณไฟจราจร   แบบแผนวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book จำนวน 6 แผน  2)หนังสือเล่มใหญ่ Big Book จำนวน 6 เล่ม ได้แก่ สัญลักษณ์ห้องน้ำเป็นแบบนี้เอง  จุดรวมพลอยู่ตรงนี้นะ ห้องพยาบาลอยู่ไหน ทางหนีไฟอยู่ไหนนะ ข้ามถนนต้องข้ามทางม้าลาย สัญญาณไฟจราจรตั้งอยู่ที่ทางแยกบนถนน  3) แบบทดสอบความเข้าใจก่อน-หลังเรียนเรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  จำนวน 1 ชุด  ผู้วิจัยได้ทดลองจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนเป็นเวลา 6 สัปดาห์  ระยะเวลาที่ใช้การสอนตรงรวมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book สอนสัปดาห์ละ 1 เรื่อง  เรื่องละ 5 วัน วันละ 50 นาที รวมทั้งหมด 6 เรื่อง 6 สัปดาห์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ย  ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  จากการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book อยู่ในระดับดีมาก   2)นักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book คะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6

    บทบาทของยา Guselkumab ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา Role of Guselkumab for the Treatment of Plaque Psoriasis

    Get PDF
    บทคัดย่อ   Guselkumab เป็นยารักษาโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาระดับปานกลางถึงรุนแรงในผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ต้องได้รับการรักษาด้วย systemic therapy หรือ phototherapy ซึ่งเป็นยารายการแรกในกลุ่ม Interleukin-23 inhibitor ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งในเอเชีย ยายังได้รับการอนุมัติให้รักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินในระยะมีอาการ ยา guselkumab เป็น fully human immunoglobulin G1 lambda (IgG1λ) monoclonal antibody (mAb) มีกลไกการออกฤทธิ์โดยเลือกจับแบบเฉพาะเจาะจงและเหนียวแน่นที่ p19 subunit ของ IL-23 ทำให้ขัดขวางการจับกับ IL-23 receptor จึงไม่เกิดการส่งสัญญาณไปกระตุ้น cytokine cascades มีผลทำให้การหลั่งของ pro-inflammatory cytokines และ chemokines ลดลง ผลจากการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 3 จำนวน 4 การศึกษา ได้แก่ VOYAGE 1, VOYAGE 2, NAVIGATE และ ECLIPSE ที่ให้ยา guselkumab โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังขนาด 100 มิลลิกรัม ในสัปดาห์ที่ 0 สัปดาห์ที่ 4 และหลังจากนั้นทุกๆ 8 สัปดาห์ พบว่ายาสามารถลดความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาระดับปานกลางถึงรุนแรงและมีผลการรักษาที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กระบวนการเมแทบอลิซึมหลักของยาเกิดผ่านทาง catabolic pathway จึงไม่ต้องปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับหรือไตบกพร่อง อาการไม่พึงประสงค์ของยาที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คำสำคัญ: กูเซลคูแมบ, เทร็มฟะยา, โมโนโคลนอลแอนติบอดี, โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา  Abstract Guselkumab is indicated for the treatment of adult patients (18 years of age or older) with moderate to severe plaque psoriasis who are candidates for systemic therapy or phototherapy. Guselkumab is the first in class Interleukin-23 inhibitor that has been approved in adults with moderate to severe plaque psoriasis in several countries, including the USA and EU. Guselkumab is also indicated for the treatment of adult patients with active psoriatic arthritis. Guselkumab is a fully human immunoglobulin G1 lambda (IgG1λ) monoclonal antibody (mAb) that inhibit the bioactivity of IL-23 by binding with specificity and high affinity to IL-23; it selectively binds to the p19 subunit of IL-23 and blocks its interaction with cell surface IL-23 receptor, subsequently blocking the activation of the IL-23-mediated signalling pathway and the releasing of pro-inflammatory cytokines and chemokines that play a role in plaque psoriasis. Relate to the results from the phase III of 4 following studies, VOYAGE 1, VOYAGE 2, NAVIGATE and ECLIPSE, patients that receive guselkumab 100 mg subcutaneously at weeks 0, 4 and every 8 weeks thereafter have significantly improved treatment outcomes. The recommended dose of guselkumab is 100 mg by subcutaneous injection at weeks 0 and 4, followed by a maintenance dose every 8 weeks. Guselkumab is mainly metabolised via catabolic pathways, no dose adjustment is needed for hepatic or renal impairment. The most common adverse drug reaction was upper respiratory tract infections. Keywords: guselkumab, tremfya, monoclonal antibody, plaque psoriasi

    รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร: THE DEMOCRATIC LEADERSHIP DEVELOPMENT MODEL OF SECONDARY SCHOOL LEADERS IN BANGKOK

    Get PDF
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มที่สมควรพัฒนาก่อน ปัจจัยส่งเสริม และรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมต้นแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การวิจัยมีสองระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสัมพันธ์เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ จำนวน 344 คน สุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดจำนวน 10 แบบวัด มีค่าความเที่ยง (α) .78 - .91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ Stepwise Multiple Regression Analysis, t-test (independent), 1-Way ANOVA และ Path Analysis ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีทั้งที่เป็นผู้นำนักเรียนและไม่ใช่ผู้นำนักเรียนกลุ่มละ 32 คน ที่เป็นผู้สมัครใจจากโรงเรียนที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัย 2 แห่ง จัดเข้ากลุ่มด้วยวิธี Random Assignment การสอบวัดมี 3 ระยะ คือ ก่อนทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง และสองสัปดาห์หลังสิ้นสุดการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test (independent), 2-Way ANOVA การวิจัยพบผลสำคัญสี่ประการ คือ  ประการที่ 1 กลุ่มตัวแปรด้านจิตลักษณะสามารถอธิบายจิตประชาธิปไตยและพฤติกรรมประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 46.00 และ 43.00 เมื่อเพิ่มกลุ่มตัวแปรด้านสถานการณ์ทางสังคม สามารถอธิบายได้มากกว่าถึงร้อยละ 5 และ 11 ตามลำดับ ประการที่ 2 กลุ่มนักเรียนที่สมควรได้รับการพัฒนาก่อนมี 6 กลุ่ม คือ เพศชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำที่มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป อยู่ในสังกัด สพม.กท 1 มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.50 และอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ โดยแต่ละกลุ่มมีปัจจัยส่งเสริมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยทั้งจิตประชาธิปไตยและพฤติกรรมประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ประการที่ 3 รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยได้ร้อยละ 92.00 และประการที่ 4 นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมต้นแบบมีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก และพบว่าเมื่อวัดหลังการฝึกทันที และเมื่อผ่านไปสองสัปดาห์ ผลดังกล่าวยังคงอยู

    กระบวนการพิจารณาบทความ

    Get PDF
    กระบวนการพิจารณาบทควา

    การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา: FACTOR ANALYSIS OF ONLINE LEARNING FOR ELEMENTARY STUDENTS

    Get PDF
    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ โดยทำการหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวร์แมกซ์ (Varimax) ใช้เกณฑ์การเลือกตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) 0.5 แต่ละองค์ประกอบต้องประกอบด้วยตัวแปรอย่างน้อย 3 ตัวขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  = 4.14) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ฉันส่งงานและการบ้านที่ได้รับมอบหมาย (  = 4.47) รองลงมาคือ ครูรับฟังฉันเสมอเมื่อฉันแสดงความคิดเห็น (  = 4.38) ครูแจ้งจุดประสงค์และกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนเรียน (  = 4.36) และครูอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย (  = 4.32) ตามลำดับ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยในการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ จำนวน 20 ตัวแปร คือ (1) ด้านผู้สอน ประกอบด้วย 8 ตัวแปร โดยตัวแปรที่อธิบายด้านผู้สอนสูงสุด ได้แก่ ครูอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย (2) ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย 6 ตัวแปร โดยตัวแปรที่อธิบายด้านผู้เรียนสูงสุด ได้แก่ ฉันตั้งใจเรียนได้ตลอดช่วงเวลาของการเรียน และ  (3) ด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย 6 ตัวแปร โดยตัวแปรที่อธิบายด้านเทคโนโลยีสูงสุด ได้แก่ ความชัดเจนของภาพและเสีย

    5,464

    full texts

    8,966

    metadata records
    Updated in last 30 days.
    Srinakharinwirot University: SWU e-Journals System is based in Thailand
    Access Repository Dashboard
    Do you manage Open Research Online? Become a CORE Member to access insider analytics, issue reports and manage access to outputs from your repository in the CORE Repository Dashboard! 👇