Factors Influencing Patient Health Behaviors for Delaying the Progress in Stage 3 - 4 Chronic Kidney Disease Patients at Khlongkhlung Hospital, Khampangphet Province

Abstract

Objective: To determine level of health behaviors for delaying chronic kidney disease (CKD), functional health literacy, self-efficacy perception and social support acquisition, and factors that influenced the health behaviors for delaying CKD progression in patients with CKD stage 3 and 4. Method: This predictive correlation research included a sample of 240 stage 3 and 4 CKD patients, who were treated at CKD Clinic, Khlongkhlung Hospital, Khampangphet province. The study instrument was self-administered questionnaire. The obtained data were analyzed by descriptive statistics and step-wise multiple regression analysis. Results: The study population possessed functional health literacy, self-efficacy perception, social support acquisition and health behaviors for delaying CKD progression at the highest level. Results from the step-wise multiple regression analysis revealed that factors of self-efficacy perception, social support acquisition, mean monthly income and functional health literacy together could predict 27.00% (R2 = 0.270) of the health behaviors for delaying CKD progression with statistical significance (P-value < 0.001). The best factor that could predict health behaviors for delaying CKD progression was perceived self-efficacy (b = 0.321, P-value < 0.001), social support acquisition (b = 0.177, P-value = 0.006), mean monthly income (b = -0.158, P-value = 0.006) and functional health literacy (b = 0.143, P-value = 0.023). Conclusion: Public health professionals should promote the increase in the level of perceived self-efficacy and health literacy in CKD patients, as well as encourage families to be part of patient care, to better health behavior change for delaying CKD progression. Keywords: health behavior, chronic kidney disease, health literacy, self-efficacy, social supportบทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม ความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 - 4 วิธีการศึกษา: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Predictive correlation research) มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 - 4 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 240 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Step-wise multiple regression analysis) ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีระดับความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมโดยรวมอยู่ในระดับสูงมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมได้ร้อยละ 27.00 (R2 = 0.270) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) โดยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถทำนายพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมได้ดีที่สุด (b = 0.321, P-value < 0.001) รองลงมา ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (b = 0.177, P-value = 0.006) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (b = -0.158, P-value = 0.006) และความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน (b = 0.143, P-value = 0.023) ตามลำดับ สรุป: การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 - 4 สามารถทำได้โดยเพิ่มการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วย ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย และสร้างความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอันจะนำไปสู่การชะลอไตเสื่อมต่อไป คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ, โรคไตเรื้อรัง, ความแตกฉานด้านสุขภาพ, สมรรถนะแห่งตน, แรงสนับสนุนทางสังค

    Similar works