การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร ผลิตระดับวิสาหกิจชุมชน

Abstract

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร ระดับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และ 2) หาประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสมของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร  ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร เลือกใช้วัสดุโครงสร้างเป็นวัสดุสแตนเลส SUS 304 และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังขนาด 1 แรงม้า ขับกำลังด้วยพูลเลย์ สายพาน รอบความเร็วที่ใช้คือ 846 รอบต่อนาที และเลือกใช้ใบมีดหั่นแบบ 2 ใบมีด โดยใช้หลักการวิศวกรรมตามทฤษฎีแรงเฉือนจากการหมุนเหวี่ยงใบมีด ปริมาณการผลิตของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจรคือ 50 กิโลกรัม/ชั่วโมง และได้ศึกษาหาประสิทธิภาพของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร โดยการทดลองหั่น 10 ครั้ง ครั้งละ 1,000 กรัม ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลที่ได้จากการหั่นคือ ฟ้าทะลายโจรมีขนาดความยาวต่ำกว่า 2 นิ้ว ตามความต้องการของวิสาหกิจชุมชน ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้สำหรับหั่นฟ้าทะลายโจรคือ 69.60 วินาที และ 2) ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจรเท่ากับ 99.57 % การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ต้นทุนการสร้างเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจรเท่ากับ 75,000 บาท และต้นทุนแปรผันได้แก่ต้นทุนการหั่นเท่ากับ 1.13 บาท/กิโลกรัม ปริมาณการผลิตเท่ากับ 12,000 กิโลกรัม/เดือน จำหน่ายกิโลกรัมละ 150 บาท พบว่าจุดคุ้มทุนเท่ากับ 503 กิโลกรัม ระยะเวลาการคืนทุนของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร สามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จะทำให้วิสาหกิจชุมชนจะมีรายได้ 1,800,000 บาท/เดือน    งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) สร้างเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร ระดับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว             2) หาประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสมของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร  ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร เลือกใช้วัสดุโครงสร้างเป็นวัสดุสแตนเลส SUS 304 และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังขนาด 1 แรงม้า ขับกำลังด้วยพูลเลย์ สายพาน รอบความเร็วที่ใช้คือ 846 รอบต่อนาที และเลือกใช้ใบมีดหั่นแบบ 2 ใบมีด โดยใช้หลักการวิศวกรรมตามทฤษฎีแรงเฉือนจากการหมุนเหวี่ยงใบมีด ปริมาณการผลิตของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจรคือ 50 กิโลกรัม/ชั่วโมง และได้ศึกษาหาประสิทธิภาพของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร โดยการทดลองหั่น 10 ครั้ง ครั้งละ 1,000 กรัม ผลที่ได้จากการหั่นคือ ฟ้าทะลายโจรมีขนาดความยาวต่ำกว่า 2 นิ้ว ตามความต้องการของวิสาหกิจชุมชน ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้สำหรับหั่นฟ้าทะลายโจรคือ 69.60 วินาที และประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจรเท่ากับ 99.57 % การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ต้นทุนการสร้างเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจรเท่ากับ 75,000 บาท และต้นทุนแปรผันได้แก่ต้นทุนการหั่นเท่ากับ 1.125 บาท/กิโลกรัม ปริมาณการผลิตเท่ากับ 12,000 กิโลกรัม/เดือน จำหน่ายกิโลกรัมละ 150 บาท พบว่าจุดคุ้มทุนเท่ากับ 503 กิโลกรัม ระยะเวลาการคืนทุนของเครื่องหั่นฟ้าทะลายโจร สามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จะทำให้วิสาหกิจชุมชนจะมีรายได้ 1,800,000 บาท/เดือ

    Similar works