Instrument Development of a Discrete Choice Experiment for Eliciting Clients' Preference in Alcohol Brief Intervention by Community Pharmacists

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแบสอบถาม DCE สำหรับศึกษาความประสงค์ต่อการใช้บริการงานให้ความรู้และคำปรึกษาสำหรับผู้ดื่มสุรา (Alcohol brief intervention; ABI) โดยเภสัชกรร้านยา พร้อมแสดงรายละเอียดของวิธีการพัฒนาเครื่องมือ DCE ก่อนนำไปใช้ในการวิจัยหลักต่อไป วิธีการศึกษา: ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานในการสร้างแบบสอบถาม DCE ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน 1) คัดเลือกคุณลักษณะและระดับของคุณลักษณะ 2) การกำหนดรูปแบบของ DCE 3) ออกแบบ DCE โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 4) ทดสอบความเข้าใจในการตอบแบบสอบถาม DCE 5) ทดลองนำร่อง และ 6) ออกแบบ DCE สำหรับการวิจัยหลัก ผลการศึกษา: ผลการศึกษาตาม 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) พบคุณลักษณะของงานบริการ ABI ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการ 5 ด้าน ได้แก่ ราคาค่าบริการ ระยะเวลาในการรับบริการ วิธีการคัดกรองความเสี่ยงต่อการดื่มแอลกอฮอล์ สถานที่การสนทนา และความต่อเนื่องของการสนทนา 2) กำหนดรูปแบบของทางเลือกแบบไม่ระบุชื่อ และเพิ่มการไม่เลือกการใช้บริการทั้งสองทางเลือก 3) ผู้วิจัยใช้วิธี efficient design โดยโปรแกรมสำเร็จรูป 4) ปรับการอธิบายคำถาม DCE โดยการทดสอบความเข้าใจในการตอบ DCE ด้วยวิธี Think aloud technique สุ่มตัวอย่างตามสะดวกกับลูกค้าที่ดื่มสุราภายใน 3 เดือนที่ผ่านมาจำนวน 7 คน 5) ผลการศึกษานำร่องจำนวน 32 คน พบว่าทิศทางของสัมประสิทธิ์ของโมเดลส่วนใหญ่เป็นไปตามทฤษฎี และ 6) นำค่าสัมประสิทธิ์และทิศทางที่ได้ของการศึกษานำร่องมาออกแบบ DCE สำหรับการวิจัยหลักโดยวิธี Bayesian efficient design ต่อไป สรุป: การวิจัยนี้แสดงถึงขั้นตอนการออกแบบเครื่องมือ DCE สำหรับการสอบถามความประสงค์ต่องานให้ความรู้และคำปรึกษาสำหรับผู้ดื่มแอลกอฮอล์โดยเภสัชกรร้านยา ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน และได้แบบสอบถาม DCE ที่เหมาะสมในการนำไปออกแบบในการวิจัยหลักต่อไป การศึกษาอื่นที่มีขอบเขตใกล้เคียงสามารถนำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ คำสำคัญ: discrete choice experiment, การพัฒนาเครื่องมือ, เภสัชกรร้านยา, การบำบัดแบบสั้นสำหรับผู้ดื่มแอลกอฮอล์Abstract Objective: To develop a discrete choice experiment for eliciting clients' preference in Alcohol brief intervention (ABI) by community pharmacists and illustrate a detailed procedure for constructing a DCE questionnaire before conducting the main survey. Methods: Mixed method approach was used to construct a DCE questionnaire, which consists of 6 steps: 1) selecting attributes and their levels, 2) determining the construction of DCE and analysis requirement, 3) designing DCE, 4) face validity testing of DCE, 5) pilot study and 6) re-designing DCE for the main survey. Results: The results of the six-step study were as follows. 1) Five characteristics of ABI by community pharmacists influencing the choice of service, namely cost of service, counseling session, screening alcohol risk drinking method, mode of conversation, and a continuation of the conversation were found. 2) Generic DCE with two alternatives and the opt-out option were determined. 3) The efficient design was used to construct the DCE by using a package software. 4) The explanation of DCE was adjusted via think-aloud technique with seven respondents sampled from clients who had drunk alcohol in the past three months. 5) The pilot study of 32 people showed that directions of most coefficients were consistent with the theory. 6) Coefficients with their directions were used for DEC design which will be used in the main study using Bayesian efficient design. Conclusion: This research presented a detailed 6-step process for designing a DCE questionnaire in ABI by community pharmacists. This service was composed of five characteristics suitable for applying to the main survey.  Other similar studies could apply this DCE approach. Key words: discrete choice experiment, instrument development, community pharmacy, alcohol screening and brief interventio

    Similar works