สถานการณ์การบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นของบุคลากรสาธารณสุข ในหน่วยบริการปฐมภูมิจังหวัดเชียงใหม่ Situation of Vaccine and Cold-Chain System Management Among Public Health Personnel in Primary Care Units at Chiang Mai Province

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อระบุสถานการณ์การบริหารจัดการวัคซีนโดยบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิจังหวัดเชียงใหม่ และเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการดังกล่าว วิธีการศึกษา: งานวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการสำรวจสถานการณ์โดยใช้แบบสอบถามกับบุคลากรผู้รับผิดชอบงานวัคซีนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 236 คน เพื่อประเมินการดำเนินงาน ความรู้ของบุคลากร ความพร้อมของสิ่งสนับสนุน และผลกระทบจากลักษณะภูมิประเทศ และสัมภาษณ์เชิงลึกใน 12 คน เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากผลการสำรวจที่ได้ เก็บข้อมูลระหว่างมิถุนายนถึงตุลาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา: บุคลากรผู้รับผิดชอบงานวัคซีนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปฏิบัติตามแนวทางการจัดการวัคซีนได้อย่างถูกต้อง แต่มีบางประเด็นที่บางส่วนยังปฏิบัติไม่ถูกต้องมากกว่า 20% เช่น การทำให้น้ำแข็งเริ่มละลาย (conditioning icepack) การบันทึกอุณหภูมิตู้เย็น และการจัดการในกรณีฉุกเฉิน พบว่าบุคลากรขาดความรู้ในเชิงเทคนิคที่เกี่ยวกับการจัดการระบบลูกโซ่ความเย็น เช่น อุณหภูมิในระบบ คุณสมบัติของวัคซีนแต่ละชนิด และการอ่านเครื่องหมาย Vaccine Vial Monitor เป็นต้น การโยกย้ายกำลังคน งบประมาณ และอุปกรณ์ในระบบลูกโซ่ความเย็น สัมพันธ์กับความพร้อมของการบริหารจัดการระบบ หน่วยงานที่กระจายวัคซีนระดับอำเภอสำคัญต่อการสนับสนุนการจัดการวัคซีน สรุป: บุคลากรผู้รับผิดชอบงานวัคซีนระดับปฐมภูมิในจังหวัดเชียงใหม่สามารถบริหารจัดการวัคซีนและห่วงโซ่ความเย็นได้ดี แต่สามารถพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องความรู้ด้านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับการจัดการห่วงโซ่ความเย็น และพัฒนาระบบการสนับสนุนการจัดการด้านกำลังคน งบประมาณ และอุปกรณ์ในระบบลูกโซ่ความเย็นอย่างเหมาะสม คำสำคัญ: การบริหารจัดการวัคซีน , ระบบลูกโซ่ความเย็น, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, หน่วยบริการปฐมภูมิObjective: To determine the situation of vaccine and cold-chain system management at primary care units in Chiang Mai Province and rationale and issues related to the management Methods: Mixed method approach was used, starting with a survey of 236 health personnel responsible for vaccine management at sub-district health promoting hospitals, Chiang Mai Province, to access their practice, knowledge, availability of supports, and impacts of the area’s geographics on the vaccine and cold-chain management. The in-depth interview on done with 12 selected personnel. Data were collected from June to October 2020. Descriptive statistics and content analysis were used to analyze quantitative and qualitative data, respectively. Results: Survey respondents properly followed vaccine practice guideline; but more than 20% failed to comply with issues such as conditioning icepack, recording refrigerator temperature, and managing cold-chain system in emergency situations. Survey respondents lacked technical knowledge related to vaccine and cold-chain system such as required temperature, vaccine’s specific characteristics, and Vaccine Vial Monitor mark. Healthcare-system factors related to the vaccine and cold-chain management included personnel turnover, and availability of budget and equipment. A district-level vaccine depot was a major support for the system. Conclusion: Personnel in sub-district health promoting hospitals, Chiang Mai province followed vaccine and cold-chain management guideline. Technical knowledge on vaccine characteristics related to system operation could be improved. Sub-district hospitals should be provided with manpower, budgetม and equipment for proper cold-chain system. Keywords: vaccine management, cold chain system, health promoting hospital, primary care uni

    Similar works