ทัศนคติของผู้บริโภคต่อส่วนผสมการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการ ของร้านยาคณะเภสัชศาตร์แห่งหนึ่ง Client Attitudes toward Marketing Mix Potentially Influencing Intention to Use Services of a Pharmacy School Affiliated Community Pharmacy

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อส่วนผสมการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะมาใช้บริการของร้านยาคณะเภสัชศาตร์ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อเก็บข้อมูลจากผู้มาใช้บริการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ด้วยการสุ่มแบบสะดวกจำนวน 500 คน แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลประชากรศาสตร์ ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะมาใช้บริการของร้านยาคณะเภสัชศาตร์จำนวน  4 ด้านได้แก่ 1) ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้านย่อย (ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบริการคัดกรองโรค ด้านบริการจัดการเรื่องยา ด้านบริการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงสุขภาพ และด้านบริการวิชาการ) 2) ด้านราคา 3) ด้านสถานที่ และ 4) ด้านส่งเสริมการตลาด  ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อปัจจัยส่วนผสมการตลาดที่มีผลต่อความตั้งใจมาใช้บริการของร้านยาคณะเภสัชศาตร์ 1) ด้านผลิตภณฑ์และบริการมีค่าเป็น 3.91 เต็ม 5 คะแนน (ด้านย่อย: 3.88, 3.81, 3.89, 3.87 และ 4.14 คะแนน ตามลำดับ) 2) ด้านราคา 3.90 คะแนน 3) ด้านสถานที่ 4.00 คะแนน และ 4) ด้านส่งเสริมการตลาด 3.96 คะแนน สรุป: ทัศนคติฯทุกด้านส่งผลต่อความตั้งใจที่จะมาใช้บริการจากร้านยาในระดับสูงยกเว้นทัศนคติด้านบริการวิชาการ (4.14 คะแนน) ที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะมาใช้บริการจากร้านยาในระดับสูงสุด ดังนั้นร้านยาของคณะเภสัชศาสตร์ควรเน้นการพัฒนาความสามารถด้านบริการวิชาการให้กับอาจารย์เพื่อจูงใจให้ลูกค้ามีความตั้งใจที่จะมาใช้บริการร้านยาเพิ่มมากขึ้น คำสำคัญ: ทัศนคติ, ส่วนผสมการตลาด, การคัดกรองโรค, การจัดการเรื่องยา, การปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ, บริการวิชาการAbstract Objective: To determine client attitudes toward marketing mix that potentially influence the intention to use service of a pharmacy school affiliated community pharmacy. Methods: In this cross-sectional survey study, sample consisted of patients and their family members receving services at the HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Srinakharinwirot University (SWU), and students and employee of SWU. A sample of 500 respondents was recruited by a convenience sampling. Questionnaire asked about the respondent’s demographic characteristics, attitudes toward marketing mix potentially influencing the service use intention including attitudes toward 1) products and services with 5 sub-components (products, disease screening service, medication therapy management service, health behavior modification service, and academic services), 2) price, 3) place, and 4) promotion. Results: Out of a total of 5 points, mean scores of attitude toward 4 componentss of products and services, piece, place and promotion were 3.91, 3.90, 4.00 and 3.96 points, respectively. For the first component, mean scores of 5 sub-components were 3.88, 3.81, 3.89, 3.87 and 4.14 points, respectively. Conclusion: Most components and sub-components were in high level, except for the sub-component of academic services which had a highest level (4.14 points). School of pharmacy should enhance academic service capacity of the faculty memers to better serve the client. Keywords: attitude, marketing mix, disease screening, medication therapy management, health behavior modification, academic services 

    Similar works