การวิจัยและพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล (Family Strength Research and Development through Participatory Learning Process of Tambon Administrative Organization Leaders)

Abstract

&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this research are to study community readiness for development (herein referring to the development of Family strength) in villages under the Tambon Khok Khi Non Administrative Organization, and to construct the Family strength training program through participatory learning process of Tambon Khok Khi Non Administrative Organization leaders by utilizing the Family strength conceptual framework (David Olson et al. 1982). The researcher collected data on community readiness from 356 residents of 5 villages under the Tambon Khok Khi Non Administrative Organization, using community readiness questionnaires; the result of which showed that all 5 villages possess medium levels of community readiness. For construction of training program, the researcher employed in-depth interviews and focus group discussion forums to examine factors related to Family strength, characteristics of Family strength, and development of Family strength; in combination with use of participatory action research on the president and members of Tambon Khok Khi Non Administrative Organization and their families -5 families-(husbands and wives only) to acquire guidelines for the development of Family strength training program. The researcher compiled the data obtained and integrated with theoretical concepts from literature reviews to construct the training program for development of Family strength in accordance with Family strength conceptual factors of Olson et al. &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The constructed training program comprises 7 main modules: - 1) Ideal family, 2) knowledge of Family strength, 3) knowledge of Family strength concepts and models, 4) Guidelines for development of cohesion components (with 6 sub-modules), 5) Guidelines for development of flexibility components (with 4 sub-modules), 6) Guidelines for development of communication components(with 4 sub-modules), and 7) Result monitoring &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Test application of the training program through a one-group, pre-test and post-test format, revealed that participants achieved higher scores on Family strength Questionnaires after training (t = 18.33, p-value< .05); indicating that the training program constructed is effective and can be applied in real situation. Keywords: Family Strength, Participatory Learning &nbsp;บทคัดย่อ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของชุมชนในการพัฒนา (ซึ่งในที่นี้เป็นการพัฒนาเรื่องความเข้มแข็งของครอบครัว) โดยทำการศึกษาหมู่บ้านที่อยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน และมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครอบครัวเข้มแข็ง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน โดยใช้กรอบแนวคิดครอบครัวเข้มแข็งของเดวิด ออลซัน และคณะ (Olson et al, 1982) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล ความพร้อมของชุมชนจากประชาชนในหมู่บ้านที่อยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน 5 หมู่บ้าน จำนวน 356 คน โดยใช้แบบสอบถามความพร้อมชุมชน ซึ่งพบผลว่า ทั้ง 5 หมู่บ้านมีความพร้อมของชุมชนสำหรับการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมผู้วิจัย ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการจัดดำเนินการสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งของครอบครัว ลักษณะของครอบครัวเข้มแข็ง และการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัว ประกอบกับการใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอนและครอบครัว (เฉพาะสามี ภรรยา) จำนวน 5 ครอบครัว เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรความเข้มแข็งของครอบครัว ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มานี้ประมวลรวมกับแนวคิดทฤษฎีจากการทบทวนเอกสาร แล้วนำมาสร้างเป็นหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวตามองค์ประกอบของแนวคิดครอบครัวเข้มแข็งของ ออลซัน และคณะ หลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 7 โมดุลหลัก ได้แก่ 1) ครอบครัวในอุดมคติ 2) ความรู้เรื่องครอบครัวเข้มแข็ง 3) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและโมดุลครอบครัวเข้มแข็ง 4) แนวทางในการพัฒนาองค์ประกอบด้านการยึดเหนี่ยวระหว่างกัน (มี 6 โมดุลย่อย) 5) แนวทางในการพัฒนาองค์ประกอบด้านความยืดหยุ่น ( มี 4 โมดุลย่อย) 6) แนวทางในการพัฒนาทักษะการสื่อสาร (มี 4 โมดุลย่อย) 7) การติดตามผล ผลจากการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปทดลองใช้โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลัง พบว่า หลังจากฝึกอบรมแล้วผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนจากแบบทดสอบความเข้มแข็งของครอบครอบครัวเพิ่มมากขึ้น (t = 18.33, p-value< .05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้มีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้งานได้จริง คำสำคัญ: ครอบครัวเข้มแข็ง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่ว

    Similar works