30 research outputs found

    ผลของการใช้โอโซนร่วมกับยูวี-ซีหรือละอองลอยจากสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการกำจัดเชื้อเอสเชอริเชียโคไลและเอสเปอร์จิลลัสไนเจอร์ที่ปนเปื้อนในโรงงานอุตสาหกรรมก๋วยเตี๋ยว

    Get PDF
    บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำลายเชื้อในการผลิตแป้งที่ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยการใช้โอโซนร่วมกับยูวีที่มีต่อปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด ยีสต์/รา และอีโคไลที่ปนเปื้อนในน้ำแป้งจากกระบวนการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว และเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อในห้องที่ใช้ในการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เชื้ออีโคไลและเชื้อแอสเปอร์จิลลัส ไนเจอร์ ถูกนำมาใช้ทดลองเพื่อเป็นต้นแบบของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ทั้งนี้ต้นแบบของกระบวนการฆ่าเชื้อร่วมกันของเครื่องกำเนิดโอโซน (2 ลิตรต่อนาที) และยูวี (45 วัตต์) โดยทำการทดสอบระบบกับน้ำแป้ง ใช้ปริมาณเริ่มต้นของเชื้ออีโคไลและเชื้อแอสเปอร์จิลลัส ไนเจอร์ ที่ประมาณ 7 ล็อกโคโลนีต่อมิลลิลิตร ในการทดลองอัตราส่วนของแป้งต่อน้ำที่ทำการศึกษาถูกเตรียมที่ร้อยละ 0, 20, 45, 75 และ 100 น้ำแป้งที่ปริมาตร 15 ลิตรถูกเติมเชื้ออีโคไล หรือเชื้อแอสเปอร์จิลลัสที่ 7 ล็อกโคโลนีต่อมิลลิลิตร ปริมาตร 200 มิลลิลิตร โดยอัตราการไหลของมวลเป็น 0.3 กิโลกรัมต่อวินาที ในระหว่างทำการฆ่าเชื้อมีการเก็บตัวอย่างที่เวลา 0, 5, 10, 20, 30 และ 40 นาที ปริมาณของแบคทีเรียทั้งหมด เชื้ออีโคไลและยีสต์/รา ถูกวิเคราะห์ด้วยตัวอย่างปริมาตร 1 มิลลิลิตร ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการลดลงของปริมาณของแบคทีเรียทั้งหมด ยีสต์/ราและอีโคไลขึ้นกับเวลาและอัตราส่วนของแป้งต่อน้ำ โดยเมื่อใช้ระบบโอโซนร่วมกับยูวีเป็นเวลา 40 นาที ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด ยีสต์/รา และอีโคไล ลดลงไปได้จนถึง 0 ล็อกโคโลนีต่อมิลลิลิตรที่ความเข้มข้นของน้ำแป้งร้อยละ 20 สำหรับความเข้มข้นของน้ำแป้งมากกว่าร้อยละ 20 การใช้โอโซนร่วมกับยูวีสามารถที่จะลดปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดลงได้ 3 - 2 ล็อกโคโลนีต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในการทดลองกับน้ำแป้งที่ไม่ได้ผ่านการเจือจาง ระบบโอโซนและยูวีที่ประดิษฐ์ขึ้นในงานวิจัยนี้ไม่สามารถลดปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด ยีสต์/รา และอีโคไลได้ เนื่องจากน้ำแป้งมีการตกตะกอน มีความขุ่นและความหนืดสูงมาก การทดลองพ่นไอระเหยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 - 5 ในห้องทดสอบขนาด 1 ลูกบาศก์เมตรพบว่า ไอระเหยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สามารถลดปริมาณอีโคไลภายใน 2 นาทีจาก 109 ถึง 105 โคโลนีต่อมิลลิลิตร หรือ 4 ล็อก จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าใช้เวลาน้อยในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียจากการกระจายของละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไอละอองลอยดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้ออีโคไลและยังสามารถลดจำนวนของโคโลนีเชื้อราเมื่อความเข้มข้นของละอองลอยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สูงขึ้น ความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 3 และ 5 ที่เวลาการกระจายของละอองลอย 4 – 6 นาที สามารถที่จะเพิ่มความสามารถในการทำลายแอสเปอร์จิลลัส ดังนั้นการใช้ไอระเหยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการฆ่าเชื้อพบว่าสามารถที่จะลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียและราในห้องทดลอง โดยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สามารถระเหยได้ง่ายและไม่เสถียร สามารถแตกตัวและสลายด้วยการเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำและออกซิเจน ไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และสำหรับการใช้โอโซนร่วมกับยูวีถูกพบว่ามีความเหมาะสมในการฆ่าเชื้อตัวอย่างที่มีความขุ่นและมีตะกอนลักษณะเป็นน้ำแป้ง โดยมีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อดีกว่าการใช้ยูวีหรือโอโซนอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้การใช้โอโซนร่วมกับยูวีสามารถที่จะทำลายเชื้ออีโคโลและเชื้อราแอสเปอร์จิลลัสไนเจอร์ได้เป็นอย่างดี   คำสำคัญ: การใช้โอโซนร่วมกับยูวี-ซี  ไอระเหยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  การยับยั้ง  เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล เชื้อแอสเปอร์จิลลัส ไนเจอร

    Biosurfactant from sour cherry (Prunus cerasus L.) conventional fermentation

    Get PDF
    ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีงบประมาณ พ.ศ.255

    Isolation of Yeast and Its Performance for Decolorization of Azo Dyes

    Get PDF
    วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เคมีประยุกต์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561งานวิจัยนี้ศึกษาการคัดแยกยีสต์และประสิทธิภาพในการกำจัดสีย้อมอะโซ โดยยีสต์ที่คัดแยกได้จากดินบริเวณทางน้ำทิ้งของโรงงานย้อมผ้าบาติก จังหวัดปัตตานี ยีสต์ที่คัดแยกได้ที่สามารถบำบัดสีย้อมอะโซที่ใช้ศึกษาได้ดีที่สุดคือ ไอโซเลต co 6 เมื่อนำไประบุสายพันธุ์ของยีสต์ชนิดนี้โดยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 26S rRNA เทียบกับฐานข้อมูล พบว่ายีสต์สายพันธุ์ดังกล่าวคือ Pichia kudriavzevii และพบว่ายีสต์ P. kudriavzevii สามารถกำจัดสีย้อม Acid Red 73 ได้ดีที่สุดจากสีย้อมโซทั้ง 11 ชนิด โดยยีสต์ P. kudriavzevii สามารถบำบัดได้ 100% ภายเวลาในระยะเวลา 5 ชั่วโมง ด้วยกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพไม่ใช่การดูดซับบนผิวเซลล์ นอกจากนี้ได้มีการศึกษาผลของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่มีต่อประสิทธิภาพในการกำจัดสีย้อม Acid Red 73 ด้วยยีสต์ P. kudriavzevii พบว่าที่ความเข้มข้นของสีเริ่มต้น 25-500 และ 800-1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ยีสต์สามารถบำบัดสีได้มากกว่า 99% ภายในเวลา 10 และ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ และที่ความเข้มข้นของกลูโคสและซูโครส 2 กรัมต่อลิตร ยีสต์ P. kudriavzevii สามารถบำบัดสีได้ 100% ภายในเวลา 10 ชั่วโมง ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p≥0.05) ขณะที่แอมโมเนียมซัลเฟตและยูเรีย ความเข้มข้น 0.5-6 กรัมต่อลิตร มีผลต่อการบำบัดสีไม่แตกต่างกัน คือบำบัดได้มากกว่า 97% ภายในเวลา 10 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าการไม่เติมแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจน ยีสต์ก็ยังสามารถบำบัดสีได้สูงถึง 64 และ 87% ตามลำดับ ยีสต์ P. kudriavzevii สามารถเจริญและทำงานได้ดีในสภาวะที่มีค่าพีเอช 4.0-9.0 อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส 160 รอบต่อนาที และทนต่อสภาวะที่มีความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สูงถึง 50 กรัมต่อลิตร โดยสามารถบำบัดสีได้ 96% ภายในเวลา 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของสีย้อม Acid Red 73 ก่อนและหลังการบำบัดด้วยเทคนิค UV–Visible spectrophotometry, Fourier Transform Infrared Spectro- scopy (FTIR) และ Gas Chromatography Mass Spectrometer (GC-MS) พบว่าโครงสร้างของสี Acid Red 73 หลังการบำบัดมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับสีย้อมก่อนบำบัด แสดงถึงการถูกย่อยสลายของสีเพื่อเปลี่ยนไปเป็นสารเมตาบอไลท์ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถทำนายวิถีที่เป็นไปได้ในการย่อยสลายของสีย้อม Acid Red 73 และจากการศึกษาความเป็นพิษที่มีต่อต้นพืช 3 ชนิดคือ ถั่วเขียว (Vigna radiata) ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) และผักกาดกวางตุ้ง (Brassica pekinensis) พบว่าสารละลายสีย้อมหลังการบำบัดมีความเป็นพิษต่อพืชที่ใช้ในการทดลองลดลงเมื่อเทียบกับสีย้อมก่อนการบำบัด นอกจากนี้ได้มีการศึกษาการกำจัดสีย้อม Acid Red 73 ในระบบถังปฏิกรณ์แบบต่อเนื่อง (Continuous system) พบว่ายีสต์ P. kudriavzevii สามารถกำจัดสีได้มากกว่า 95% ตลอดระยะ เวลาการทดลองต่อเนื่อง 10 วัน ที่ความเข้มข้นของสีย้อม Acid Red 73 100 มิลลิกรัมต่อลิตร และผลการศึกษาพบว่าสารละลายหลังจากการบำบัดมีค่าซีโอดีลดลงจาก 4,417 มิลลิกรัมต่อลิตร เหลือ 641 มิลลิกรัมต่อลิตรในสารละลายหลังบำบัด โดยคิดเป็นประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีได้เท่ากับ 85% ดังนั้นจึงมีความน่าสนใจในการศึกษาต่อยอดงานวิจัยนี้เพื่อนำยีสต์ P. kudriavzevii ไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนด้วยสีย้อมต่อไปThis work presents an isolation of yeast capable of azo dye decolori- zation from soil collected from wastewater discharging route of batik dyeing factory in Pattani Province. It was found that the isolated yeast strain co.6 could effectively decolorize azo dyes. By nucleotide sequential analysis based on 26S rRNA and compared to the database, the strain was identified as Pichia kudriavzevii. Among 11 types of azo dye used in this study, P. kudriavzevii exhibited the best performance for decolorizing Acid Red 73 with 100% efficiency within 5 hours. The decolorization took place via biodegradation mechanism without absorbing on the cell surface. Furthermore, various parameters affecting the performance of P. kudriavzevii on Acid Red 73 decolorization were investigated. At the initial dye concentrations of 25-500 mg/L and 800-1000 mg/L, P. kudriavzevii decolorized the dye more than 99% efficiency within 10 and 24 hours, respectively. At a concentration of 2 g/L of glucose and sucrose, P. kudriavzevii showed 100% of decolorization efficiency within 10 hours with insignificant difference (p≥0.05). ammonium sulfate ((NH4)2SO4) and urea in the range of 0.5-6 g/L insignificantly resulted in a complete decolorization more than 97% within 10 hours. It was also found that, without adding carbon and nitrogen source, P. kudriavzevii still exhibited high decolorization efficiency of 64 and 87%, respectively. P. kudriavzevii grew and worked well at pH 4.0-9.0, 35 °C, 160 rpm, and could tolerate high sodium chloride (NaCl) concentrations up to 50 g/L with 96% decolorization efficiency within 24 hours. In addition, the structure of Acid Red 73 before and after degradation was studied using UV-Visible spectrophotometry, Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) and Gas Chromatography Mass Spectrometer (GC-MS). It was found that the dye structure after treatment changed compared to that before treatment, indicating that the dye molecule was degraded to form metabolites. These metabolites could be used for proposing the possible pathway for the degradation of Acid Red 73. The toxicity of the metabolites was also tested with 3 types of plants which were Vigna radiata, Ipomoea aquatica and Brassica pekinensis. The metabolites were found to be less toxic to plants than the dye before decolorization. Deolorization of Acid Red 73 in a continuous flow reactor was also performed in this study. It was found that, at the initial dye concentration of Acid Red 73 100 mg/L, P. kudriavzevii maintained decolorization efficiency higher than 95% throughout 10 days of the experiment. This continuous treatment system also effectively reduced COD of the dye solution, decreasing from 4,417 mg/L in the influent to 641 mg/L in the effluent with 85.4% COD removal. Therefore, the results indicate that the isolated yeast P. kudriavzevii has a potential for the application of treating azo dye contaminated wastewater

    Production of recombinant yeast expressing delta 6 desaturase from striped catfish (Pangasianodon hypophthalmus) and its use dietary probiotics in fish feed

    Get PDF

    คุณค่าทางโภชนาการและปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคของปลาหมักกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์

    Get PDF
    Nutrition and Amount of Pathogenic Microorganisms in Fermented Fish of Ethnic Groups at Surin Province   Kotchanipha Udomthawee, Sopit Vetayasuporn, Nongnut Sarapee, Jutamas Yoomark and Piyarat Meekaew   รับบทความ: 9 มีนาคม 2564; แก้ไขบทความ: 17 มิถุนายน 2564; ยอมรับตีพิมพ์: 18 กรกฎาคม 2564; ตีพิมพ์ออนไลน์: 2 สิงหาคม 2564 (Abstract) 25 พฤศจิกายน 2564 (Authorproof)   บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ ปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เถ้า ความชื้น แคลเซียม และ ฟอสฟอรัสของปลาสดและปลาหมัก และ 2) ปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรค ได้แก่ Salmonella sp.  Staphylococcus aureus Escherichia coli Bacillus cereus Clostridium perfringens ยีสต์ และรา ของปลาหมักที่พบในกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ 1) ไทย–ลาว 2) ไทย–เขมร และ 3) ไทย–กูย จากการวิเคราะห์ตามวิธีการของ AOAC พบว่า ปลาสด และปลาร้า (ปลาสร้อยขาว ปลาดุก) ปลาจ่อม (ปลาซิว ปลาคับของ) และ ปลาส้ม (ปลาตะเพียน ปลานิล) ในทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกัน (p < 0.05) โดยปลาสดมีปริมาณโปรตีน และไขมันมากกว่าปลาร้า ปลาจ่อม และปลาส้ม ปลาสดมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต เถ้า ความชื้น แคลเซียม และฟอสฟอรัสน้อยกว่าปลาร้าและปลาจ่อม ปลาสดและปลาหมักมีปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสแตกต่างกัน (p < 0.05) ยกเว้นปลาส้มมีปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสไม่แตกต่างกัน (p ≥ 0.05) ปลาหมักไม่พบการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ก่อโรค Salmonella sp.  Bacillus cereus และ Clostridium perfringens ยกเว้น ปลาจ่อมปลาซิว (ไทย–เขมร) ปลาจ่อมปลาคับของ(ไทย–กูย) ปลาส้มปลานิล (ไทย–ลาว) และปลาส้มปลาตะเพียน (ไทย–กูย) พบ Escherichia coli ปลาจ่อมปลาคับของ (ไทย–ลาว) ปลาจ่อมปลาคับของ(ไทย–เขมร) ปลาส้มปลาตะเพียน (ไทย–เขมร) และปลาส้มปลานิล (ไทย–กูย) พบ Staphylococcus aureus คิดเป็นร้อยละ 16.66  ยีสต์และราพบปริมาณ 1.23×102–9.26×102 CFU/g ดังนั้นปลาหมักจึงเป็นอาหารทดแทนปลาสดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และปลอดภัยจากจุลินทรีย์ก่อโรค เป็นทั้งอาหาร เครื่องปรุงรสอาหาร และอาหารว่าง โดยใช้ปลาหมักเป็นส่วนประกอบในอาหารทุกมื้อ ทุกวัน และตลอดปี คำสำคัญ: คุณค่าทางโภชนาการ  จุลินทรีย์ก่อโรค  ปลาหมัก  ชาติพันธุ์   Abstract The objectives of this research were to study: 1) nutrition values such as the content of protein, carbohydrate, fat, ash, moisture, calcium and phosphorus from various types of fresh and fermented fishes and 2) determine the number of pathogenic microorganisms such as Salmonella sp., Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Bacillus cereus, Clostridium perfringens, yeast and fungi from different types of fermented fishes from Ethnic groups of 1) Thai–Laos, 2) Thai–Khmer and 3) Thai–Kui. AOAC methods were used to analyze nutrition values and pathogenic microorganisms. The results showed statistical significantly different in nutritional values (p < 0.05) when fresh fish, fermented fish (Jullien’s mud carp and Catfish), pickled fish (Minnow and tight fish) and sour fish and fermented rice (Carp and Tilapia) were analyzed. Protein and fat values in fresh fish were higher contents than all fermented fish, pickled fish and sour fish. The amount of carbohydrate, ash, moisture, calcium and phosphorus of fresh fish were less than fermented fish and pickled fish. The calcium and phosphorus values between fresh and fermented fishes were different (p < 0.05), but these amount showed no statistical significant different (p ≥ 0.05) when fresh fish and sour fish and fermented rice were compared. Pathogenic microorganisms such as Salmonella sp., Bacillus cereus and Clostridium perfringens were not found in fermented fish product. However, Escherichia coli was found in Minnow pickled fish (Thai–Khmer), Tight pickled fish (Thai–Kui), Tilapia sour fish and fermented rice (Thai-Laos) and Carp sour fish and fermented rice (Thai–Kui). Furthermore, 16.66 % of Tight pickled fish (Thai–Kui), Tight pickled fish (Thai–Khmer), Carp sour fish and fermented rice (Thai–Khmer) and Tilapia sour fish and fermented rice (Thai–Kui) were found Staphylococcus aureus. Number of yeast and fungi in fermented fish products were found between 1.23×102–9.26×102 CFU/g; therefore, the fermented fish products are possible to substitute fresh fish since they contain high nutrition values and hygienic from pathogenic microorganisms. The fermented fish products always use as foods, food ingredients and combination in snacks in all foods. Keywords: Nutrition, Pathogenic microorganism, Fermented fish, Ethnic group

    แผนธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษาวัตถุดิบท้องถิ่นจากหน่อกะลา เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

    Get PDF
    แผนธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษาวัตถุดิบท้องถิ่นจากหน่อกะลา เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุร

    Trehalose biosynthesis pathway as a promising new target for antifungal drug development

    Get PDF
    High mortality rates associated with systemic mycoses have dramatically increased in immunocompromised patients. With limitedly available antifungal drugs and their adverse drug reactions, much effort is being focused on new antifungal drug development. Fungi have evolved multifactorial mechanisms to survive various stress conditions encountered in the environment and in vivo during infection. Targeting the biochemical pathways utilized by the fungus to adapt to stress conditions is one proposed approach for the development of new antifungal drugs. Biosynthesis of the disaccharide trehalose is one such target that is not found in humans. The TPS/TPP pathway is the main mechanism fungi utilized for trehalose biosynthesis and has been found to have a critical role in regulating fungal metabolic homeostasis and integrity of fungal cell wall. Mutants  tps2 and trehalose-6-phosphate phosphatase activity displayed an increased accumulation of trehalose-6-phosphate intermediate, cell wall alteration, and attenuation of the virulence in the murine models of systemic mycoses. The consistent results were found in human fungal pathogens; Candida albicans, Cryptococcus neoformans, and Aspergillus fumigatus suggesting that the trehalose biosynthesis pathway is a promising target for antifungal drug development. However, finding a broad spectrum fungicidal drug against human fungal pathogens must also consider the outcome on the pathogenic dimorphic fungi. Importantly, the consequences of host immune responses against fungi must also be taken into account when the fungal cell wall exhibits changes through the inhibition of the trehalose biosynthesis pathway

    ไคติน-ไคโตซาน (Chitin-Chitosan)

    Get PDF
    บทคัดย่อ               ไคติน เป็นโพลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งพบได้จากธรรมชาติ คือจะพบในรูปของสารประกอบเชิงซ้อน ไคตินเป็นสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกับเซลลูโลสและแป้ง รูปร่างของไคตินจะเป็นเส้นสายยาวๆ มีลักษณะคล้ายลูกประคำที่ประกอบขึ้นมาจาก น้ำตาลโมเลกุลเล็กๆ ที่มีชื่อว่า เอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน(N-acetylglucosamine)               ไคโตซาน (Chitosan) เป็นอนุพันธ์ของไคติน (Chitin) ที่ได้จากการดึงเอาหมู่อะซิทิล (Acetyl Group) ของไคตินออกไป โดยปฏิกิริยาที่เรียกว่า Deacetylation ทำให้โครงสร้างของไคตินที่เป็น N-Acetylglucosamine กลายเป็น Glucosamine  ซึ่งเป็นโครงสร้างที่  Activeพร้อมจะทำปฏิกิริยาได้อย่างรวดเร็วและมีสมบัติละลายได้ในกรดอ่อนคำสำคัญ: ไคติน-ไคโตซาน, Chitin-Chitosa
    corecore