4 research outputs found

    การพัฒนาจีโอโพลิเมอร์ความแข็งแรงสูงด้วยเถ้าชานอ้อยว่องไวสูง Development of High-Strength Geopolymers by High-Reactive Bagasse Ash

    No full text
    จีโอโพลิเมอร์เป็นวัสดุชนิดใหม่ที่มีสมบัติคล้ายคลึงกับปูนซีเมนต์ จึงมักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างเนื่องจากมีกำลังรับแรงอัดสูง โดยจีโอโพลิเมอร์ผลิตมาจากวัสดุอะลูมิโนซิลิเกตที่เรียกว่าวัสดุปอซโซลานเช่น เมตาเคโอลิน เถ้าลอย เถ้าชานอ้อย และเถ้าแกลบ ผสมกับสารละลายอัลคาไลที่มีความเป็นด่างสูงเพื่อเกิดปฏิกิริยาจีโอโพลิเมอไรเซชัน แต่ในการนำเอาขี้เถ้าจากการเกษตร มาใช้นั้นมีข้อจำกัดอยู่ที่ความว่องไวในการทำปฏิกิริยา หากวัสดุปอซโซลานมีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาจีโอโพลิเมอไรเซชันต่ำจะทำให้กำลังรับแรงอัดช่วงต้นของชิ้นงานมีค่าน้อยเช่นเดียวกัน ดังนั้นในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้เถ้าชานอ้อยมีความว่องไวสูงต่อการทำปฏิกิริยาโดยการนำเถ้าชานอ้อยไปแช่ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์และเกิดเป็นสารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์ชนิดซิลิกาสูง (Silica-rich (SR)-NaOH) ในงานวิจัยนี้ใช้วัสดุปอซโซลานอัตราส่วนระหว่างเมตาเคโอลินต่อเถ้าชานอ้อยที่ 80:20 และอัตราส่วนปอซโซลานต่อสารละลายอัลคาไลเท่ากับ 1:1 ปริมาณเถ้าชานอ้อยแตกต่างกันที่ 0, 20 และ 50 เปอร์เซนต์ ผสมเข้ากับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 10 โมลาร์ ได้เป็นสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ชนิดซิลิกาสูง จากนั้นทดสอบสมบัติทางเคมี ได้แก่ การวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันด้วยเครื่องฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วย เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ และความสามารถในการละลายของด่าง จากผลการทดสอบพบว่าการใช้ SR-NaOH ที่ผสมเถ้าชานอ้อย 50 เปอร์เซนต์ จะมีค่ากำลังรับแรงอัดสูงที่สุด โดยมีค่ากำลังรับแรงอัดสูงกว่าชิ้นงานที่ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เชิงพาณิชย์มากกว่า 2 เท่า ที่อายุบ่ม 7 วันและมากกว่า 3.5 เท่าที่อายุบ่ม 28 วันGeopolymer is a new material whose properties are similar to cement. Therefore, it is often used in the construction industry due to its high compressive strength. Geopolymers are made from aluminosilicate materials called pozzolanic materials such as metakaolin, fly ash, bagasse ash and rice husk ash mixed with a high alkali solution to occur geopolymerization, however, the agricultural ashes have limited reactivity. Since the pozzolanic materials had low reactivity for geopolymerization, the early compressive strength of geopolymer was low as well. Therefore, this research aimed to prepare the high-reactive bagasse ash by soaking the ash in sodium hydroxide solution to transform into silica-rich sodium hydroxide (SR-NaOH). In this study, the ratio of metakaolin and bagasse ash was 80:20 and the ratio of solid to alkali liquid was 1:1. The quantity of bagasse ash for SR-NaOH was varied as 0, 20 and 50%, mixed with 10M NaOH. The chemical properties were characterized including the functional group analysis by FTIR, the chemical compositions by XRD and the alkalinity test.  From the results, it was found that the usage of SR-NaOH with 50 percent of bagasse ash presented the highest compressive strength which was 2 times at 7 day age and 3.5 times at 28 day age higher than that of commercial NaOH.Keywordsจีโอโพลิเมอร์ชนิดเมตาเคโอลิน; เถ้าชานอ้อยว่องไวสูง; ความแข็งแรงรับแรง; สารละลายโซเดียมซิลิเกต; สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ชนิดซิลิกาสูงMetakaolin-based geopolymer; High-reactive bagasse ash; Compressive strength; Sodium silicate solution; Silica-rich sodium hydroxide,
    corecore