Srinakharinwirot University: SWU e-Journals System
Not a member yet
    8966 research outputs found

    อนาคตภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566 - 2575): THE FUTURE OF EDUCATION MANAGEMENT FOR SMALL-SIZED OF PRIMARY SCHOOLS IN THE NEXT DECADE (2023-2032)

    Get PDF
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพที่เป็นไปได้ในการจัดการการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2566-2575) โดยการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research :) โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาหลักการและแนวคิดของการจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษา จำนวน 9 คน (EDFR รอบที่ 1) เพื่อกำหนดองค์ประกอบอนาคตภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในทศวรรษหน้า ระยะที่ 2 ศึกษาอนาคตภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 ท่าน (EDFR รอบที่ 2) ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ ระดับปฏิบัติการ (ผู้อำนวยการสถานศึกษา) 7 ท่าน ระดับนักวิชาการ แบ่งเป็น ระดับเขตพื้นที่ (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา) จำนวน 7 คน ระดับนโยบาย (ผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา) จำนวน 7 คน ระยะที่ 3 กำหนดและยืนยันอนาคตภาพ (EDFR รอบที่ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน (บุคคลเดียวกับรอบที่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบเปิดและไม่ชี้นํา (Non–directed, Open ended) เป็นแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้างที่เกี่ยวกับ 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) อนาคตภาพนักเรียน (2) อนาคตภาพครู (3) อนาคตภาพการบริหารจัดการ (4) อนาคตภาพ การจัดการเรียนการสอน (5) อนาคตภาพการมีส่วนร่วม และแบบสอบถามเป็นกรอบประเด็นคําถามเกี่ยวกับแนวโน้มและโอกาสที่จะเป็นไปได้ในอนาคตภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในทศวรรษหน้า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าพิสัยควอไทล์             ผลการศึกษา พบว่า อนาคตภาพที่เป็นไปได้ในการจัดการการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในทศวรรษหน้า พ.ศ.2566 - 2575 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) อนาคตภาพนักเรียน 2) อนาคตภาพครู 3) อนาคตภาพการจัดการศึกษา 4) อนาคตภาพการจัดการเรียนการสอน 5) อนาคตภาพการมีส่วนร่วม

    การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นเรียนรวม ด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล

    Get PDF
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นเรียนรวม ด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนในชั้นเรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนทั้งหมด 30 คน เป็นนักเรียนทั่วไปจำนวน 29 คน และเป็นนักเรียนออทิสติกจำนวน 1 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Weather and Seasons ได้รับการออกแบบและปรับด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล และนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของนักเรียนในชั้นเรียนรวมที่มีความหลากหลาย จำนวน 4 แผน และ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ชุด 20 ข้อ นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลจากการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นเรียนรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ ภายหลังได้รับการสอนด้วยการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 80.83 อยู่ในระดับดีเยี่ยม

    นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิม์บทความ

    Get PDF
    นโยบายและคุณลักษณะของการตีพิม์บทควา

    ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย : ACHIEVEMENT OF THE LEARNING MANAGEMENT MODEL TO DEVELOP GIFTED STUDENTS IN SECONDARY EDUCATION THROUGH THE STANDARDS OF PRINCESS CHULABHORN SCIENCE HIGH SCHOOL

    Get PDF
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 2) ขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีขั้นตอนการวิจัย  2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีขอบเขตเนื้อหา คือ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 4 รายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์  โรงเรียนที่ทำการทดลอง ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียนประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลงานนวัตกรรมของนักเรียน ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 แห่ง               ผลการวิจัย มีดังนี้ ระยะที่ 1 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ร้อยละ 94.79  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนมีร้อยละของคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน สูงกว่าระดับประเทศทุกวิชา และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียนได้รับรางวัล ระดับนานาชาติ ได้แก่ Color Change Sticker, Color Blindness Assessment Applications for Children Ages 3-7 years in Android และ Automatic Medical Masks Dispenser ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ระยะที่ 2 ผลการขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกแห่งมีร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 91.29 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป สูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป โดยภาพรวมสูงกว่าร้อยละ 11.29 ผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกแห่ง มีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก ตลอดจนการขอจดอนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร และรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมีความเหมาะสม มีความเป็นประโยชน์  และมีความเป็นไปได้ 

    กรณีศึกษา: Piperacillin/Tazobactam กระตุ้นการเกิดภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก Case Report: Piperacillin/Tazobactam Induced Hemolytic Anemia

    Get PDF
    บทคัดย่อ ยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม (piperacillin/tazobactam) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแบบปานกลางถึงรุนแรง บทความนี้กล่าวถึงรายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยรายหนึ่งที่รักษาภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection, UTI) ด้วยยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทมแล้วเกิดภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก กลไกการเกิดมาจากระบบภูมิคุ้มกัน เกิดขึ้นหลังการรักษาด้วยยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม 5 วัน มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ ดังนี้ ฮีโมลโกบิล (hemoglobin) และฮีมาโตคริต (hematocrit) ลดลงจากค่าปกติของผู้ป่วย ประกอบกับผลตรวจ direct antiglobulin test ให้ผลบวกซึ่งจำเพาะต่อ immunoglobulin G หากพบภาวะดังกล่าวควรรักษาโดยการให้เลือดร่วมกับหยุดยาพิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม หลังจากหยุดยาแล้วติดตามผลการรักษา พบว่ามีค่าฮีโมลโกบิล และฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้น คำสำคัญ : พิเพอราซิลลิน/ทาโซแบ็กแทม, ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกโดยออโตอิมมูน, ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกโดยเกิดจากยา, ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตก ­­Abstract Piperacillin/tazobactam is an antibiotic to treat moderate-severe bacterial infections. This article discusses a case report of an elderly woman receiving treatment for urinary tract infections with piperacillin/tazobactam. Piperacillin/tazobactam induces hemolytic anemia by mechanism of immune system. After treatment with piperacillin/tazobactam for 5 days, hemoglobin (Hb) and hematocrit (Hct) reduced from baseline of this patient. In addition, the direct antiglobulin test result was positive which is specific to immunoglobulin G. When this condition was found, blood transfusion and discontinuation of piperacillin/tazobactam should be prescribed. Following these treatments, blood counts increased to nearly baseline of this patient. This report illustrates the importance of early identification of drug-induced hemolytic anemia. Keywords: Piperacillin/tazobactam, Autoimmune hemolytic anemia (AIHA), Drug-induced hemolytic anemia (DIHA), Hemolysi

    สารบัญ

    Get PDF

    สารบัญ

    Get PDF

    การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแผนรับมืออากาศยานประสบอุบัติเหตุในเขตสนามบินด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่เน้นการใช้สถานการณ์เป็นฐาน สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน: THE DEVELOPMENT OF TRAINING CURRICULUM FOR CABIN CREW IN AIRCRAFT ACCIDENT ON AIRPORT RESPONSES PLAN USING SCENARIO-BASED INTEGRATED LEARNING

    Get PDF
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแผนรับมืออากาศยานประสบอุบัติเหตุในเขตสนามบินด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่เน้นการใช้สถานการณ์เป็นฐานสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ และ 3. ศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความพึงพอใจของหลักสูตรฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฯ แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบประเมินระหว่างเรียน แบบประเมินทักษะและแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยทดสอบก่อนเรียน ฝึกอบรม ประเมินระหว่างเรียน ทดสอบหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการพัฒนาหลักสูตรฯ เสนอให้มีการเพิ่มเติมประเด็นในการฝึกอบรมและกำหนดสถานการณ์ที่หลากหลาย 2. ผลการพัฒนาหลักสูตรฯ แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวัง 2) การกำหนดหลักการของหลักสูตรฯ 3) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรฯ 4) การกำหนดบทบาทผู้สอนและผู้เข้าอบรม 5) การกำหนดการวัดประเมินผล และ 6) การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฯ 3. ผลการศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความพึงพอใจ พบว่า หลักสูตรฯ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 82.44/96.67 ประสิทธิผลของหลักสูตรฯ เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมแล้วพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีความรู้ในการรับมือเหตุฉุกเฉินสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขนาดอิทธิพลในระดับมาก (d = 5.65) มีทักษะในการรับมือเหตุฉุกเฉินสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรในระดับมากที่สุ

    การพัฒนากิจกรรม 12 BML เพื่อเสริมสร้างความจำใช้งานในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย: DEVELOPMENT OF 12 BML ACTIVITIES TO ENHANCE WORKING MEMORY IN ENGLISH SUBJECT FOR YOUNG CHILDREN

    Get PDF
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมเสริมสร้างความจำใช้งานในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง จำนวน 42 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนห้องที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับกิจกรรมเสริมสร้างความจำใช้งานในวิชาภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 ครั้ง มีนักเรียนจำนวน 22 คน และห้องที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนของโรงเรียนตามปกติ มีนักเรียนจำนวน 20 คน วัดความจำใช้งานด้วยแบบทดสอบ Corsi Block-Tapping Task (Corsi, 1972) โดยวัดทั้งหมด 3 ระยะ คือ ก่อนทดลอง หลังทดลองทันที และระยะติดตามผลหลังทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีแบบ Bonferroni Method ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความจำใช้งานหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.0

    5,464

    full texts

    8,966

    metadata records
    Updated in last 30 days.
    Srinakharinwirot University: SWU e-Journals System is based in Thailand
    Access Repository Dashboard
    Do you manage Open Research Online? Become a CORE Member to access insider analytics, issue reports and manage access to outputs from your repository in the CORE Repository Dashboard! 👇